No. | Company | Program | รูปแบบการใช้งาน | ประโยชน์ที่ได้รับ |
1 | CPF | Oracle | ซีพีเอฟร่วมมือพัฒนาโปรแกรมกับบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการการติดตั้งระบบ Agile Product Lifecycle Management for Process – PLM เพื่อใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในทุกขั้นตอนการผลิต ของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป กุ้งสด ไก่แปรรูป อาทิ ไก่เทอริยากิ ไก่ห่อสาหร่าย ไก่ทอดคาราเกะ และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานทั้งหมด (Ready meal) เพื่อช่วยให้หน่วยงาน R&Dจะสามารถวิเคราะห์ส่วนผสมต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการตรวจสอบในแบบเรียลไทม์ว่า วัตถุดิบส่วนผสมที่ใช้นั้นเป็นไปตามกฎระเบียบของรัฐบาลและข้อจำกัดของตลาดหรือไม่ | ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกวางจำหน่ายในตลาด รวมไปถึงการเปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อใช้ส่งเสริมการตัดสินใจของผู้บริหาร อีกทั้งยังช่วยให้การประสานงานกับคู่ค้าหรือ Supplier เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดและความต้องการของลูกค้าเป็นไปอย่างเป็นระบบราบรื่นรวดเร็วมากขึ้น เป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานของคู่ค่าไปด้วยพร้อมๆกัน ตลอดจนช่วยให้การตรวจสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ของบริษัท เทียบกับข้อกำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับทางกฎหมาย ของประเทศคู่ค้า เป็นไปได้อย่างมีระบบและรวดเร็วยิ่งขึ้น |
2 | Kraft Foods | Oracle | Oracle Transportation Management (OTM) ถูกนำมาใช้ในการจัดระบบการขนส่งสินค้า โดยการวางแผนและกำหนดเส้นทางของรถบรรทุกแต่ละคันที่ใช้วิ่งส่งสินค้าไปยังที่ต่างๆ เพื่อลดการซ้ำซ้อนของเส้นทางของรถบรรทุกและลดโอกาสของการวิ่งแบบไม่มีสินค้าบรรทุกอยู่บนรถ (empty miles) | ระบบการจัดการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าได้ เนื่องมาจากการประหยัดค่าใช้จ่าย, เวลา และพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก อีกทั้งยังส่งผลให้การจัดการสต๊อกและการบริการลูกค้าเป็นไปตามที่กำหนดได้ดียิ่งขึ้น |
3 | Unilever | SAP | SAP ถูกนำมาใช้ในการจัดการระบบข้อมูลของสินค้า, วัตถุดิบ และระบบองค์กร เพื่อช่วยในการสั่งเข้าวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิด ลดขนาดของหน่วยงานที่ใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากสามารถเช็ค | ระบบการจัด inventory ของบริษัทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งเวลาและแรงงานที่ใช้ในการดูแลจัดการ ประหยัดเวลาในการนับสต๊อก อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบ (Total Cost of Ownership หรือ TCO) ช่วยให้การติดต่อประสานงานกับองค์กรภายนอก ไม่ว่าจะเป็น Supplier หรือ บริษัทคู่ค้า เป็นไปได้สะดวก |
4 | Chevron | Oracle | Oracle เป็นหนึ่งในระบบ Database ที่บริษัทเชฟรอนใช้ซึ่งระบบนี้เป็น Multi User Database ในการรวมรวมข้อมูลที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับหลุมผลิต ซึ่งข้อมูลนี้จะมีการ update online โดยที่ผุ้ใช้งานทุกคน (authorized person) จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด ไมว่าจะเป็นพนักงานนอกฝั่ง (Offshore) หรือพนักงานบนฝั่ง จะได้รับข้อมูลที่ตรงกัน | ในการใช้ระบบ oracle นี่ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลที่หลากหลาย และเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น |
5 | Kimberly Clark | SAP | บริษัทใช้ระบบ SAP ในการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นทางด้านของการจัดเก็บวัตถุดิบ การใช้วัตถุดิบ การบริหาร stock สินค้า การส่งสินค้า การจัดซื้อวัตถุดิบ ระบบ planning ของการผลิตสินค้าใน line การผลิต ระบบบัญชี เป็นต้น | ในการนำระบบ SAP เข้ามาใช้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมุลในส่วนงานต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบระเบียบ สามารถเรียกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทในการบริหารการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลต่างๆเชื่อมโยงในทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการผลิต การตลาด จัดซื้อ บัญชี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
6 | PTTCHEM | SAP | PTTCHEM ใช้ระบบ Enterprise Resource Planning โดยนำระบบ SAP ECC 6.0 มาใช้ในองค์กรและบริษัทในเครือ เช่น ระบบบัญชีการเงิน ระบบจัดซื้อ ระบบบำรุงรักษา ระบบบริหารคลังพัสดุ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงระบบบริหารจัดการทางการเงิน โดยใช้ระบบโครงสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ SAP Netweaver Exchange Infrastructure (SAP XI) นวัตกรรมบริการทางการเงินของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเชื่อมต่อระบบ SAP ERP ที่ใช้อยู่แล้วของบริษัทเข้ากับระบบการชำระเงินของธนาคาร อีกด้วย | SAP ECC 6.00 สามารถรองรับและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ให้มีความรวดเร็ว พนักงานและผู้บริหารสามารถเรียกดู Report จากหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อนำข้อมูลรายงานนั้นมาวิเคราะห์ วางแผนธุรกิจ ได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้น การนำระบบ SAP XI มาใช้จัดการทางการเงินของบริษัทยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บริษัทในการบริหารจัดการเงินสดหมุนเวียน การควบคุมและกระทบยอดการชำระเงินและบัญชีได้โดยอัตโนมัติ และรวดเร็วยิ่งขึ้น |
7 | Bangchak | Oracle | บางจากนำระบบ Oracle Human Capital Management (HCM) มาใช้ในองค์กร โดยยกระดับการบริหารจัดการด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาช่วยในการพัฒนาพนักงานของบริษัทฯ สำหรับแผนการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล เช่น ระบบเงินเดือน ระบบบันทึกเวลา ระบบการรับสมัครงาน ระบบการจ้างพนักงาน ระบบการจ่ายผลตอบแทน ระบบประวัติพนักงาน ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น | Oracle (HCM) สามารถช่วยยกระดับการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย e-HR (Electronic Human Resource) เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงรองรับการขยายตัวธุรกิจ ช่วยให้พนักงานทุกระดับจึงสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น สามารถเชื่อมโยงงานบริหารบุคคลทุกด้าน จึงสะดวก รวดเร็วและมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลจากศูนย์กลาง ผู้บริหารระดับสูงสามารถเรียกดูข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรและการพัฒนาพนักงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย |
8 | TOT | SAP | ทีโอทีมีการนำระบบ SAP นำมาช่วยงานในด้านการเงินและบัญชี และได้นำระบบ mySAP Supplier Relationship Management (SRM) เพื่อมาชวยในการจัดซื้อจัดจ้าง และก่อให้เกิด Supplier network ขึ้นมา โดยหวังว่าในที่สุดจะทําให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่รวดเร็วขึ้นและลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจได้ ซึ่งมีผลต่อบริษัทที่เป็นคู่ค้าขององค์การโทรศัพท์ | การที่ TOT นำ SAP มาใช้ ช่วยให้บุคลากรที่อยู่ระดับภูมิภาคจะสามารถเข้าระบบได้ทั้งภูมิภาค เช่น ภาคอีสาน ,ภาคเหนือ, ภาคตะวันออก จะสามารถเข้าดูข้อมูลได้ทุกจังหวัดในเขตภูมิภาคของตน และบริษัทแม่ของ ทีโอทีก็จะสามารถดูได้ทุกภูมิภาค ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบการทำงาน การดูงบประมาณที่แต่ละภูมิภาคใช้ พัสดุคงเหลือ เป็นต้น อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพ / ความคล่องตัวในการทำงาน ช่วยให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น สามารถควบคุม / ตรวจสอบการทำงานได้ดียิ่งขึ้น มีระบบที่สามารถควบคุมดูแลข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และผู้ใช้มีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งในการนำระบบมาใช้ |
9 | SCCC | SAP | บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงนำระบบ SAP มาใช้สร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศภายในองค์กรเชื่อมแผนกงานภายใน ระบบซื้อขาย ระบบการผลิต ทั้งแผนกการตลาด คลังสินค้า และฝ่ายบัญชี | บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงนำ SAP มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ฝ่ายผลิตจะสามารถผลิตสินค้าได้ตามออร์เดอร์โดยไม่ต้องผลิตทิ้งไว้ เพราะทันที ที่ข้อมูลดีลเลอร์คีย์คำสั่งซื้อผ่านระบบ ข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงไปยัง server กลาง ซึ่งจะทำหน้าที่กระจายคำสั่งไปยังสำนักงานใหญ่ของปูนซีเมนต์นครหลวง ที่ถนนเพลินจิต สำนักงานฝ่ายขาย ที่ศูนย์สินค้ารถไฟ พหลโยธิน และโรงงานผลิต ที่สระบุรี แต่ละฝ่ายจะเชื่อมโยงถึงกันด้วยระบบ SAP ในขณะที่ฝ่ายการตลาดจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลจัดรายการส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการตลาด รวมถึงการจัดส่งสินค้า ซึ่งทำให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วเพิ่มขึ้น |
10 | GMM GRAMMY | SAP | GMM GRAMMY นำ MYSAP EPR and SAP FOR MEDIA มาช่วยในการจัดการบริหารงานภายในองกรค์และสนับสนุนการจัดการบริหารศิลปิน, กิจกรรมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ คอนเสิร์ตและการจัดการการผลิตและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ช่วยให้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารแบบเรียลไทม์กับคู่แข่ง การขาย การจัดการในเรื่องต่างและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถวางแผนได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในบริษัทและตลาดของบริษัท | ช่วยให้สามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพื่อจะได้มีโอกาสในการเพิ่มผลกำไรและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานที่ไม่ใช่ขั้นตอนหลัก เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการเชิงกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ เพิ่มความสามารถเชิงกลยุทธ์ในด้านการแบ่งกลุ่ม ปรับใช้ และนำช่องทางที่มีอยู่ของลูกค้ามาช่วยในการส่งมอบเนื้อหาและบริการที่ปรับแต่งเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละรายตลอดระยะเวลาการเป็นลูกค้าขององค์กร ช่วยรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ไม่ว่าช่องทางธุรกิจจะมีความซับซ้อนเพียงใดก็ตาม |
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ
ตัวอย่างบริษัทที่ใช้database และประโยชน์ที่ได้รับ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที)เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้
ไอทียังเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้าง การปฏิบัติงาน
และ การจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ
ความสามารถสำคัญของระบบสารสนเทศมีดังนี้
สามารถคำนวณเลขจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยให้เกิดการสื่อสารที่แม่นยำและราคาเยาระหว่างผู้ที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กร
จัดเก็บสารสนเทศจำนวนมหาศาลไว้ได้อย่างประหยัดเนื้อที่
แต่ค้นคืนได้ง่าย
สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมากที่จัดเก็บอยู่ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและด้วยราคาประหยัด
ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่คนที่ทำงานเป็นทีมทั้งในสำนักงานเดียวหรือต่างสำนักงาน
สามารถแสดงสารสนเทศได้อย่างชัดเจนทำให้เกิดแนวคิดได้หลากหลาย
ปรับการทำงานที่ใช้มือและกึ่งอัตโนมัติให้เป็นงานแบบอัตโนมัติได้
ช่วยทำงานที่กล่าวถึงข้างบนนี้ได้อย่างประหยัดกว่าการทำด้วยมือ
ความสามารถเหล่านี้ช่วยทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้ คือ
เพิ่มผลผลิต
ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
ปรับปรุงการตัดสินใจให้มีคุณภาพมากขึ้น
เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และ
พัฒนางานประยุกต์เชิงกลยุทธ์ใหม่ ๆ
การใช้อินเทอร์เน็ตกับธุรกิจภาคเอกชน ปัจจุบัน นโยบายของภาครัฐ มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจภาคเอกชน สามารถทำการแข่งขันและทำการค้าได้เพิ่มขึ้น โดยมีมาตรการสนับสนุนต่างๆจากหลายๆ กระทรวงทบวงกรม หนึ่งในนั้นคือเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ช่วยในการประกอบการค้า เทคโนโลยีสารสนเทศในที่นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบที่เกี่ยวข้อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลหมายมั่นจะให้ธุรกิจภาคเอกชนสามารถ เข้าไปใช้งานได้เพื่อเพิ่มโอกาสต่างๆให้มากขึ้น
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร
ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆก็คือการทำ "การค้า"ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์
นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์
ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลาย
ในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
นอกจากนั้นปัจจุบันอาจได้ยินอีกหลายๆ คำ อาทิ e-Business, e-Procurement, e-Readiness,
e-Government ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน
ส่วนคำว่า e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง "ธุรกิจ" ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต
เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า
และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ
เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ
BI=Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด
ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ
การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ
การบริการ
และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ
บริษัท
ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ
จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ
ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ
ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง
และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ
การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง
แผนและการจัดการการผลิต- ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน
ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนใช้ระบบสารสนเทศในทุกสายงาน ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ
สำหรับการประมวลผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงานของทั้งหน่วยงาน
สายงานที่ต้องการะบบสารสนเทศ
งานบัญชี งานการเงิน งานการตลาด งานผลิต งานทรัพยากรมนุษย์ งานอื่น ๆ
ไอทียังเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้าง การปฏิบัติงาน
และ การจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ
ความสามารถสำคัญของระบบสารสนเทศมีดังนี้
ความสามารถเหล่านี้ช่วยทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้ คือ
การใช้อินเทอร์เน็ตกับธุรกิจภาคเอกชน ปัจจุบัน นโยบายของภาครัฐ มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจภาคเอกชน สามารถทำการแข่งขันและทำการค้าได้เพิ่มขึ้น โดยมีมาตรการสนับสนุนต่างๆจากหลายๆ กระทรวงทบวงกรม หนึ่งในนั้นคือเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ช่วยในการประกอบการค้า เทคโนโลยีสารสนเทศในที่นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบที่เกี่ยวข้อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลหมายมั่นจะให้ธุรกิจภาคเอกชนสามารถ เข้าไปใช้งานได้เพื่อเพิ่มโอกาสต่างๆให้มากขึ้น
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร
ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆก็คือการทำ "การค้า"ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์
นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์
ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลาย
ในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
นอกจากนั้นปัจจุบันอาจได้ยินอีกหลายๆ คำ อาทิ e-Business, e-Procurement, e-Readiness,
e-Government ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน
ส่วนคำว่า e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง "ธุรกิจ" ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต
เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า
และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ
เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ
แผนและการจัดการการผลิต- ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน
ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนใช้ระบบสารสนเทศในทุกสายงาน ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ
สำหรับการประมวลผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงานของทั้งหน่วยงาน
สายงานที่ต้องการะบบสารสนเทศ
ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่กล่าวมานั้นอาจสรุปย่อ ๆ ได้ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ |
แหล่งที่มาของข้อมูล:http://www.hu.ac.th/academic/article/IT/chairut.htm |
การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
เหตุผลที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีบทบาทหลักในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรสะดวกยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ดังนั้นผู้บริหารและสมาชิกขององค์กรจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน และที่เกี่ยวข้องกับองค์กร สำหรับบุคคลทั่วไป การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสในการเลือกอาชีพ ได้รับเงินเดือนสูง มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง การใช้และการบริหารระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ รู้จักเรียนรู้และหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในอดีตผู้บริหารองค์กรมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการเงินหรือการตลาด แต่ในอนาคตผู้บริหารองค์กรจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีประสบการณ์การทำงานจากสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน
ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้า ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิต สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในภาพรวมขององค์กรได้ดังนี้
networked computing คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 1.ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2.ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Harddisk , CPU เป็นต้น 3.บริการ (Service)
Rail time enterprise เป็นระบบระบบหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาลดเวลาในระหว่าง เมื่อมีข้อมูลที่จะบันทึกเข้าไปในระบบและเมื่อข้อมูลจะเข้าสู่การประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการและนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ และนี่ก็เป็นสี่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในเรื่องของความแตกต่างทางด้านธุรกิจ
ลักษณะของระบบ
1. ความรู้จากการดำเนินการของคุณ ลักษณะพิเศษของระบบ real-time คือ มีการทำงานร่วมกันภายในระบบโดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้รู้โครงสร้างในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2. ผลที่ได้ของระบบ การส่งของมูลของระบบ real-time จะส่งอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งมีการโต้ตอบหากเกิด Event บางอย่างเช่น หากมีการส่งสินค้าช้า ควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง 3. เข้าใจในผลประโยชน์ของคุณ ระบบ real-time มีจุดมุ่งหมายที่จะรองรับผลประโยชน์ทั้งหมดอย่างรวดเร็วเหมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจของคุณ
แหล่งที่มา:http://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีบทบาทหลักในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรสะดวกยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ดังนั้นผู้บริหารและสมาชิกขององค์กรจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน และที่เกี่ยวข้องกับองค์กร สำหรับบุคคลทั่วไป การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสในการเลือกอาชีพ ได้รับเงินเดือนสูง มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง การใช้และการบริหารระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ รู้จักเรียนรู้และหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในอดีตผู้บริหารองค์กรมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการเงินหรือการตลาด แต่ในอนาคตผู้บริหารองค์กรจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีประสบการณ์การทำงานจากสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน
ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้า ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิต สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในภาพรวมขององค์กรได้ดังนี้
- จัดการด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่และความเร็วสูง
- จัดให้มีการสื่อสารที่มีราคาไม่แพง แม่นยำ และรวดเร็วให้มีใช้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร
- ทำการเก็บสารสนเทศขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้เนื้อที่น้อย
- สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมากจากทั่วโลกอย่างรวดเร็วและราคาไม่แพง
- สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันจากทุก ๆ ที่ทุกเวลา
- เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน
- ทำให้เป็นอัตโนมัติทั้งกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติและงานที่ยังใช้มือทำ (Manual)
- ช่วยแปลความหมาย (Interpretation) จากข้อมูลจำนวนมหาศาล
- ช่วยด้านกิจการการค้าทั่วโลก (Global Trade)
- สามารถดำเนินงานแบบไร้สาย (Wireless) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบเฉพาะ
- การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ต้องมีราคาถูกกว่าการทำด้วยมือ (Manual)
- สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ คือ ปรับปรุงผลิตผล (Improving Productivity) ลดต้นทุน (Reducing Cost) สนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า (Enhancing Customer Relationship) และพัฒนาการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ
networked computing คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 1.ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2.ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Harddisk , CPU เป็นต้น 3.บริการ (Service)
ระบบเรียลไทม์ (Real-time)
The real-time enterprise and list of characteristic : ระบบ real-time และลักษณะของระบบRail time enterprise เป็นระบบระบบหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาลดเวลาในระหว่าง เมื่อมีข้อมูลที่จะบันทึกเข้าไปในระบบและเมื่อข้อมูลจะเข้าสู่การประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการและนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ และนี่ก็เป็นสี่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในเรื่องของความแตกต่างทางด้านธุรกิจ
ลักษณะของระบบ
1. ความรู้จากการดำเนินการของคุณ ลักษณะพิเศษของระบบ real-time คือ มีการทำงานร่วมกันภายในระบบโดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้รู้โครงสร้างในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2. ผลที่ได้ของระบบ การส่งของมูลของระบบ real-time จะส่งอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งมีการโต้ตอบหากเกิด Event บางอย่างเช่น หากมีการส่งสินค้าช้า ควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง 3. เข้าใจในผลประโยชน์ของคุณ ระบบ real-time มีจุดมุ่งหมายที่จะรองรับผลประโยชน์ทั้งหมดอย่างรวดเร็วเหมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจของคุณ
แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization)
แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นการปรับกระบวนการผลิตและโครงสร้างขององค์กรไม่ให้มีข้อจำกัดมากเกินไป แต่ให้มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง โดยสามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าที่แตกต่างกันได้เป็นรายคน มีระดับราคาที่ไม่ห่างจากการผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนมากที่มีมาตรฐานการ (Standardization) ถ้าสินค้าของเรามีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจมีความได้เปรียบนาน แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นโมเดลใหม่ที่มาแทนที่ Mass Production ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากๆ ขึ้นอยู่กับต้นทุน เพื่อให้ได้ผลกำไรให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างของแมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เช่น บริษัทพีซีคอมพิวเตอร์เปิดเว็บไซด์ (Website) ขึ้นมาสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์พีซี ลูกค้าสามารถกำหนดความต้องการ หรือกำหนดสเปกของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เลือก Main Board ที่ชอบ หรือ CPU ที่พอใจ พอใส่ข้อมูลเสร็จทาง เว็บไซด์ (Website) ก็จะคำนวณราคาให้ตามที่ลูกค้าต้องการแหล่งที่มา:http://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3
ความจำเป็นของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร
สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร (Business Environment Impact) ในบางครั้งประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมิได้เกิดจากภายในขององค์กรเอง
แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กรอย่างมากมายและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นองค์กรมีความจำเป็นต้องทราบถึงปัญหา (problems)
และโอกาส (opportunity) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร (business environment impact)
ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมีตอบสนองในการแก้ไขปัญหา และมีโอกาสในพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามกระบวนการขององค์กร (business process)
โดยองค์กรต้องมีเป้าหมาย (goals) กลยุทธ์ (strategy) และการวางแผนนโยบาย (plan) ที่ชัดเจน
ความกดดันของสภาพแวดล้อม
ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร เมื่อมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้องค์กรประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีการปรับตัวหรือมีความคล่องตัว (Agile) กระบวนการปรับองค์กรมีดังนี้
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เร็วที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้น หรือก่อนเกิดขึ้น เช่น การใช้ software เข้ามาช่วยในการทำนายและวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจในด้านต่างๆ และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดก่อนจะเกิดวิกฤติขึ้นกับองค์กร
2. เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของ software ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียงกับองค์กรทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง และวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้บริษัทมีความสามารถกำหนดราคาของสินค้า และบริการ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Digital และมีความคล่องตัว เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารและข้อมูลมีความสำคัญมากจึงจะเป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความคล่องตัว วิเคราะห์ข้อมูล และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถวิเคระห์ให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเพื่อเชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ
4. อย่ารอให้คู่แข่งทางการค้าเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงก่อน
5. ปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศขององค์กรให้มีความรวดเร็ว เพื่อให้การวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทต้องมีการจัดการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ดีใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร
เมื่อองค์กรมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้วย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวภายในองค์กร ดังนั้นประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร คือ ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกันทางการตลาดได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมช่วยตอบสนองความวิกฤตที่เกิดขึ้นในขององค์กร
แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น วิธีที่ช่วยสามารถตอบสนองต่อแรงกัดดัน หรือความวิกฤตที่ เกิดขึ้นในขององค์กรสามารถทำได้ดังนี้
1. การพัฒนาระบบโดยใช้กลยุทธ์ (Develop strategic systems) เป็นระบบการนำกลยุทธ์ที่จัดเตรียมไว้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การพัฒนารูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ การลดต้นทุน การเพิ่มความสามารถด้านการบริการให้ดีขึ้น
2. การสร้างพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นอันดับแรก
3. การวิเคราะห์เพื่อทำให้สามารถดำเนินงานเป็นอย่างเหมาะสม ลดต้นทุน กระตุ้นการตัดสินใจในการผลิต สนับสนุนการทำงานรวมกัน เป็นตัวช่วยตัดสินใจสิ่งที่ทำเป็นประจำ
4. การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ของการดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วิธีการจัดการและการจัดระบบใหม่ในการดำเนินงานทาง
5. การใช้ self-service ในการจัดการข้อมูลของลูกค้า พนักงาน และอื่นๆ เช่น การติดตามลูกค้า การเปลี่ยนที่อยู่ หรือเกี่ยวกับการจัดสินค้าที่มีอยู่
6. การสนับสนุนการแข่งขัน โดยใช้หลักการดำเนินงานที่ดี การจัดการที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพจะทำให้บรรลุผลสำเร็จ
7. คำสั่งซื้อของลูกค้าหรือ By Order ต้องใช้ขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่มีมาตรฐาน
8. การหาความต้องการที่เหมาะสมของลูกค้า เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือตามที่ลูกค้าสั่ง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
9. การสร้างสมาชิกทางธุรกิจ ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจมีโอกาสเท่าๆ กัน เพื่อลดความเสี่ยงและลดต้นทุน การร่วมมือกันเป็นการสร้างประสิทธิภาพ และหาผลประโยชน์อื่นๆ
10. การกระตุ้นให้มีการปรับปรุงใหม่ และสร้างสรรค์นั้นต้องใช้วิธีการให้ของรางวัล และการร่วมมือกัน
11. เป็นตัวช่วยการดำเนินธุรกิจ คือ ขบวนการทำงาน ,ขั้นตอนการทำงาน และ การดำเนินงานที่ทำเป็นประจำ โดยใช้หลักการจำลองการทำทางธุรกิจแบบใหม่
12. การใช้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อนำมาซึ่งการสร้าง การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่ขององค์กร
13. การซื้อและขาย โดยทั่วไปต้องหาข้อมูลอื่นๆจากภายนอกธุรกิจมาทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
14. การควบคุมการพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กรต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์การแข่งขัน การวางแผนที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์การจัดการด้านต้นทุน ,ประโยชน์ทางธุรกิจและความเสี่ยง
15. การรวมระบบโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภายในองค์กร ร่วมระบบอื่นๆที่ทำงานรวมกันเพื่อความสะดวก ลดต้นทุนและวิเคราะห์หาความผิดพลาด และการแข่งขันที่ได้เปรียบ
แหล่งที่มา : http://th.wikibooks.org/wiki
สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร (Business Environment Impact) ในบางครั้งประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมิได้เกิดจากภายในขององค์กรเอง
แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กรอย่างมากมายและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นองค์กรมีความจำเป็นต้องทราบถึงปัญหา (problems)
และโอกาส (opportunity) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร (business environment impact)
ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมีตอบสนองในการแก้ไขปัญหา และมีโอกาสในพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามกระบวนการขององค์กร (business process)
โดยองค์กรต้องมีเป้าหมาย (goals) กลยุทธ์ (strategy) และการวางแผนนโยบาย (plan) ที่ชัดเจน
ความกดดันของสภาพแวดล้อม
ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร เมื่อมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
- ภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจมีการแข่งขันสูง
- คำนึงถึงความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ทำงานล่าช้าสามารถแข่งขันกับคู่ค้าได้
- การให้พนักงานฝึกคิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
- ความน่าเชื่อถือขององค์กรในติดต่อกับลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้า
- เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
- การที่มีสารสนเทศจำนวนมาก ทำให้องค์กรพัฒนาการทำงานได้ยาก
- คำนึงถึงความรับผิดชอบทางด้านสังคม
- การควบคุมให้ปฏิบัติตามกฏหมายและกฎระเบียบของสังคม
- คำนึงถึงจรรยาบรรณ ความถูกผิดของการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การป้องกันการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้องค์กรประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีการปรับตัวหรือมีความคล่องตัว (Agile) กระบวนการปรับองค์กรมีดังนี้
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เร็วที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้น หรือก่อนเกิดขึ้น เช่น การใช้ software เข้ามาช่วยในการทำนายและวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจในด้านต่างๆ และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดก่อนจะเกิดวิกฤติขึ้นกับองค์กร
2. เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของ software ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียงกับองค์กรทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง และวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้บริษัทมีความสามารถกำหนดราคาของสินค้า และบริการ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Digital และมีความคล่องตัว เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารและข้อมูลมีความสำคัญมากจึงจะเป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความคล่องตัว วิเคราะห์ข้อมูล และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถวิเคระห์ให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเพื่อเชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ
4. อย่ารอให้คู่แข่งทางการค้าเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงก่อน
5. ปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศขององค์กรให้มีความรวดเร็ว เพื่อให้การวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทต้องมีการจัดการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ดีใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร
เมื่อองค์กรมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้วย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวภายในองค์กร ดังนั้นประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร คือ ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกันทางการตลาดได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมช่วยตอบสนองความวิกฤตที่เกิดขึ้นในขององค์กร
แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น วิธีที่ช่วยสามารถตอบสนองต่อแรงกัดดัน หรือความวิกฤตที่ เกิดขึ้นในขององค์กรสามารถทำได้ดังนี้
1. การพัฒนาระบบโดยใช้กลยุทธ์ (Develop strategic systems) เป็นระบบการนำกลยุทธ์ที่จัดเตรียมไว้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การพัฒนารูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ การลดต้นทุน การเพิ่มความสามารถด้านการบริการให้ดีขึ้น
2. การสร้างพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นอันดับแรก
3. การวิเคราะห์เพื่อทำให้สามารถดำเนินงานเป็นอย่างเหมาะสม ลดต้นทุน กระตุ้นการตัดสินใจในการผลิต สนับสนุนการทำงานรวมกัน เป็นตัวช่วยตัดสินใจสิ่งที่ทำเป็นประจำ
4. การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ของการดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วิธีการจัดการและการจัดระบบใหม่ในการดำเนินงานทาง
5. การใช้ self-service ในการจัดการข้อมูลของลูกค้า พนักงาน และอื่นๆ เช่น การติดตามลูกค้า การเปลี่ยนที่อยู่ หรือเกี่ยวกับการจัดสินค้าที่มีอยู่
6. การสนับสนุนการแข่งขัน โดยใช้หลักการดำเนินงานที่ดี การจัดการที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพจะทำให้บรรลุผลสำเร็จ
7. คำสั่งซื้อของลูกค้าหรือ By Order ต้องใช้ขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่มีมาตรฐาน
8. การหาความต้องการที่เหมาะสมของลูกค้า เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือตามที่ลูกค้าสั่ง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
9. การสร้างสมาชิกทางธุรกิจ ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจมีโอกาสเท่าๆ กัน เพื่อลดความเสี่ยงและลดต้นทุน การร่วมมือกันเป็นการสร้างประสิทธิภาพ และหาผลประโยชน์อื่นๆ
10. การกระตุ้นให้มีการปรับปรุงใหม่ และสร้างสรรค์นั้นต้องใช้วิธีการให้ของรางวัล และการร่วมมือกัน
11. เป็นตัวช่วยการดำเนินธุรกิจ คือ ขบวนการทำงาน ,ขั้นตอนการทำงาน และ การดำเนินงานที่ทำเป็นประจำ โดยใช้หลักการจำลองการทำทางธุรกิจแบบใหม่
12. การใช้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อนำมาซึ่งการสร้าง การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่ขององค์กร
13. การซื้อและขาย โดยทั่วไปต้องหาข้อมูลอื่นๆจากภายนอกธุรกิจมาทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
14. การควบคุมการพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กรต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์การแข่งขัน การวางแผนที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์การจัดการด้านต้นทุน ,ประโยชน์ทางธุรกิจและความเสี่ยง
15. การรวมระบบโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภายในองค์กร ร่วมระบบอื่นๆที่ทำงานรวมกันเพื่อความสะดวก ลดต้นทุนและวิเคราะห์หาความผิดพลาด และการแข่งขันที่ได้เปรียบ
แหล่งที่มา : http://th.wikibooks.org/wiki
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)